วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

อัตราส่วนผสมของเรซินเคลือบรูป เบอร์ 288w ส่วนผสมตัวทำแข็ง (ฮาร์ดเดนเนอร์) ใช้สูตร 100:1 ของน้ำหนักเรซิน โดยประมาณ หรือเท่ากับ 1%
รูป
3 x 5"
ใช้เรซิน
25
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
5 - 7
หยด
รูป
5 x 7"
ใช้เรซิ่น
40
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
9 - 10
หยด
รูป
8 x 10"
ใช้เรซิ่น
70
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
12 - 14
หยด
รูป
10 x 12"
ใช้เรซิ่น
100
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
18 - 20
หยด
รูป
11 x 14"
ใช้เรซิ่น
130
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
22 - 25
หยด
 

กรอบรูป

.

 

การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
วัสดุ
1. เรซิ่นเกรดเคลือบ 2. ฮาร์ดเดนเนอร์ 3. กาวลาเท็กซ์
4. ฟิล์มไมร่าาแบบเงา 5. อาซีโทน 6. น้ำยากันซึม
อุปกรณ์
 1. ลูกกลิ้งยาง 2. ถ้วยตวงและไม้กวนเรซิ่น 3. กระดาษทรายเบอร์150
 4. กระดาษกาวย่น
             

การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

                                                       กรอบรูปวิทยาศาสตร์ เป็นการใช้ประโยชน์จาก เรซิ่น ในการเคลือบรูปลงบนไม้ พร้อมตกแต่งให้เกิดความสวยงาม เป็นงานที่สามารถทำเป็นอาชีพได้ไม่ยากและน่าสนใจ เนื่องจากลงทุนค่อนข้างน้อย เรียนรู้วิธีการทำง่ายตลาดกว้าง สามารถทำได้ทั้งแบบเต็มตัวเป็นอาชีพหลักหรือครั้งคราว และกำไรต่อหน่วยค่อนข้างสูง





วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โรคไข้ฉี่หนู

 ภัยที่มากับน้ำท่วม โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู Leptospirosis

โรคฉี่หนูเป็นที่มักจะระบาดหน้าฝน โดยจะพบเชื้อโรคในปัสสาวะของหนู สุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
ลักษณะของตัวเชื้อ
เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว spirochete เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แมาน้ำลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง
เกิดจากเชื้อ Leptospira interogans เป็นเชื้อแบคทีเรียมี 16 serogroup เชื้อที่เป็นสาเหตุในกรุงเทพ คือ bataviae และ javanica ส่วนในภูมิภาคเป็น akiyami,icterohemorrhagia มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง
การเกิดโรค
พบได้ทั่วโลกยกเว้นเขตขั้วโลกเนื่องจากมีสัตว์ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าปล่อยเชื้อนี้กับปัสสาวะ คนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสปัสสาวะหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อนี้
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
  • คนงานฟาณืมเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
  • กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
  • กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา

แหล่งรังโรค
หมายถึงเป็นที่พักของเชื้อ สัตว์ที่เป็นแหล่งพักได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข แรคคูณสัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะตลอดชีวิตสัตว์ ทำให้มีการติดต่อของเชื้อในสัตว์
  • จากการสำรวจหนูใน 27 จังหวัดเมื่อปี 2508 พบว่าทั้งหนูท่อ หนูบ้าน หนูนา เป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญโดยพบเชื้อร้อยละ 10-50 รองลงมาได้แก่สุนัข
  • จากการสำรวจหนูนาพบว่าหนูพุกติดีเชื้อร้อยละ 40
  • จากการสำรวจสัตว์ในกรุงเทพเมื่อปี 2508 พบว่าหนูท่อติดเชื้อ 66% สุนัขติดเชื้อ 8 % แสดงว่าหนูเป็นตัวแพร่เชื้อ
  • การสำรวจเมื่อปี 2540 โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบภูมิคุ้มกันในความ31% โค 28.25% แพะแกะ 27.35% สุกร 2.15%
การติดต่อของโรค
สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข วัว ควาย สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะเชื้อจะอยู่ในน้ำหรือดิน
  • เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา หรือแผล ผิวหนังปกติที่เปียกชื้นเชื้อก็สามารถไชผ่านไปได้เช่นกัน
  • เชื้ออาจจะเข้าร่างกายโดยการดื่มหรือกินอาหารที่มีเชื้อ
ระยะฟักตัวของโรค
  • โดยเฉลี่ยประมาณ 10 วันหรืออยู่ระหว่าง4-19 วัน
ระยะติดต่อ
  • การติดต่อจากคนสู่คนเกิดได้น้อยมาก
การรักษา
ควรให้ยา penicillin, tetracyclin, streptomycin,erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะไดรับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค การได้รับน้ำและเกลือแร่อย่างเพียงพอ

โรคปากเท้าเปื่อย


โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome
สาเหตุ
คลิกเพื่อดูภาพใหญ่
โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใสมีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน


อาการ
  • ไข้
  • เจ็บคอ
  • มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล
  • ปวดศีรษะ
  • ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้
  • เบื่ออาหาร
  • เด็กจะหงุดหงิด
ระยะฝักตัว
หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การวินิจฉัย
โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ
  • ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin
  • ดื่มน้ำให้พอ
โรคแทรกซ้อน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน
  • อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
  • อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
ควรพบแพทย์เมื่อไร
  • ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง
  • ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
  • เด็กระสับกระส่าย
  • มีอาการชัก

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โครงการเบาหวาน



โรคไข้เลือดออก


โรคไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณะสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลื อดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
อุบัติการณืของโรคไข้เลือดออก
เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific
ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1
สาเหตุของไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง