วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคอันตรายที่มากับฤดูหนาว

1. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)


              ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน เชื้อต้นเหตุเป็นไวรัสที่ เรียกว่า อินฟลูเอ็นซาไวรัส (influenza virus) หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือ influenza A และ B ส่วนไวรัส influenza อีกชนิดหนึ่งคือ influenza C มีความรุนแรงน้อยและไม่มีความสำคัญในการแพร่ระบาด จึงอาจไม่นับอยู่ในกลุ่มของโรคไข้หวัดใหญ่

              ความสำคัญของไข้หวัดใหญ่อยู่ที่การที่ไวรัสนี้มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางได้บ่อย บางครั้งเป็นการแพร่ระบาดทั่วโลก (pandemic) การแพร่ระบาดมักเกิดในช่วงฤดูหนาว โดยทั่วไปทุกฤดูหนาวจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นกว่าฤดูอื่นๆ ในแต่ละปีมีการประมาณว่า มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกสูงถึง 10-15% ของประชากรทั้งหมด
               การที่ไวรัสมีการแพร่ระบาดได้อย่างกว้างขวางนี้เนื่องจากลักษณะที่สำคัญของไวรัสชนิดนี้ที่มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมที่กระจายอยู่ในอาร์เอ็นเอระหว่างไวรัสด้วยกันที่เอื้อให้เกิดไวรัสลูกผสมที่มีความสามารถแตกต่างจากเดิม และเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของโปรตีนสำคัญที่เป็นเป้าหมายในการโจมตีของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ง่าย เมื่อลักษณะของโปรตีนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ที่เคยติดเชื้อไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ ทำให้สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก ดังนั้นเมื่อไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงไปครั้งหนึ่งจึงมักมีการระบาดตามมาเพราะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่


              ปัจจุบัน มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยผู้ที่ควรรับวัคซีน ได้แก่ เด็กเล็ก คนชรา แพทย์ และพยาบาลโดยต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกปี เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมทำให้มีไวรัสลูกผสมสายพันธุ์ใหม่และร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 

การดูแลสุขภาพหน้าหนาว

 
6. ชุดยังชีพ ไม่ว่าจะเสื้อกันหนาว เสื้อแขนยาว ผ้าพันคอ ถุงเท้า หรือแม้แต่ถุงมือ ของพวกนี้ต้องเตรียมไว้เสมอค่ะ โดยเฉพาะตอนกลางคืน ถ้าอากาศหนาวมากก็ควรใส่ถุงเท้านอนตลอดค่ะ เพราะบริเวณเท้าเราจะรับความเย็นไว้มากที่สุด และจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วจนทำให้ไม่สบายได้

           7. กระเป๋าน้ำร้อน ไม่ได้เวอร์นะคะ แต่ควรมีไว้บ้างถึงจะดี ปัจจุบันมีกระเป๋าน้ำร้อนขนาดพกพาเล็ก ๆ ถ้าวันไหนรู้สึกหนาวมากจนชุดยังชีพก็เอาไม่อยู่แล้ว ให้เทน้ำร้อนใส่กระเป๋านำร้อนแล้วพกติดตัวไปเลยค่ะ ถือไว้ให้อุ่นมือ หรือเอาไปซุกไว้ในตัวก็ช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกายได้ดีค่ะ

           8. ออกกำลังกายอย่าได้ขาด หน้าหนาวแล้วก็อย่าฉวยโอกาสขี้เกียจไปออกกำลังกายนะคะ ยิ่งหนาวก็ยิ่งต้องออกกำลังกายให้ร่างกายได้อบอุ่น และแข็งแรงอยู่เสมอ เพราะถ้าเราเอาแต่นอนซุกผ้าห่มสบายใจ ไหนจะอ้วนเอย ไหนกล้ามเนื้อจะอ่อนแรงเอย แล้วยังจะให้รู้สึกเหนื่อยง่ายด้วย ดังนั้นออกกำลังกายกันเถอะค่ะ

           9. รักษาความสะอาดของร่างกาย ข้อนี้ขอไว้เลยว่าอย่าลืม ถึงจะหนาวแค่ไหนก็ต้องอาบน้ำเสมอ เพราะร่างกายเราไปเจอสิ่งสกปรกภายนอกมาเยอะ อาจเกิดการสะสมเชื้อโรคจนนำไปสู่อาการเจ็บป่วยได้ แต่ถ้าหนาวจนทนไม่ไหวจริง  ๆ ก็แนะนำให้ทำน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย แล้วใช้ผ้าขนหนูชุบมาเช็ดทำความสะอาดร่างกายแทนได้ แต่อย่าทำบ่อยนะคะเพราะทางที่ดีที่สุดคือต้องอาบน้ำให้สะอาดค่ะ 

การดูแลสุขภาพในหน้าหนาว


เพื่อไม่ให้หน้าหนาวนี้ต้องมีใครนั่งสั่งน้ำมูกจนจมูกแดง หรือนอนซมพิษไข้อยู่แต่บ้าน เรามาเตรียมตัวฟิตสุขภาพให้ดีตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้ากันดีกว่า จะได้สนุกกับหน้าหนาวได้อย่างเต็มเหนี่ยวไปเลย

           1. อย่าปล่อยให้ผิวแห้ง อากาศแห้งเย็นมักจะทำให้ผิวเราแห้งกร้าน หรือแตกเป็นขุย ฉะนั้นครีมทาผิวจึงสำคัญค่ะ เลือกครีมที่มีส่วนประกอบของมอยเจอร์ไรเซอร์สูง หรือมีน้ำมันเล็กน้อย ครีมแบบนี้จะช่วยกักเก็บ และเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวในช่วงหน้าหนาวได้เป็นเลิศ แต่สำหรับเจ้าตัวน้อย ก็ให้ใช้เบบี้ออยล์ทาผิวหลังอาบน้ำจะดีที่สุดค่ะ เพราะไม่ระคายเคืองผิว ไม่มีน้ำหอม แต่อย่าทาเยอะไปนะคะไม่งั้นลูก ๆ อาจจะกลายเป็นหมูน้อยอาบน้ำมันไปซะก่อน หรือคุณพ่อคุณแม่จะใช้ด้วยก็ได้ค่ะ

           2. ใส่ใจเรื่องอาหาร แน่นอนค่ะว่าเย็น ๆ หนาว ๆ แบบนี้ต้องคู่กับอาหารอุ่น ๆ ร้อน ๆ ดังนั้นควรเลือกทานอาหารร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ส่วนใครที่ยังชอบทานของเย็น ๆ พวกไอศกรีม น้ำแข็งใส หรือน้ำเย็น ๆ อยู่ล่ะก็ ลองลดลงบ้างค่ะ ถ้าไม่อยากเป็นหวัดหรือปวดท้อง เพราะกระเพาะและกล้ามเนื้อมีการหดตัวย่างรวดเร็วค่ะ

           3. ทำความสะอาดที่นอน อันนี้สำคัญค่ะ เพราะหน้าหนาวแบบนี้เราจะชอบซุกตัวกับที่นอนแบบสุขอุรากันเกินไป แต่ในหน้าหนาวแบบนี้ล่ะค่ะที่ชุดเครื่องนอนของเรามักจะมีกลิ่นอับ ไรฝุ่น ดังนั้นหมั่นเอาชุดเครื่องนอนทั้งหลายแหล่มาซักตาก หรือผึ่งแดดอยู่เสมอ เพราะในหน้าหนาวที่ผิวเราแห้งอยู่แล้ว เราอาจจะไปแพ้ไรฝุ่นจากที่นอนจนทำให้เกิดอาการคัน เป็นแผล หรือมีปัญหาโรคผิวหนังได้นะคะ

           4. ระวังโรคหน้าหนาวทั้งหลาย ไม่ว่าจะหวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัดเยอรมัน อีสุกอีใส อุจจาระร่วง รวมไปถึงอาการผื่นคัน ไมเกรน ปวดเกร็งตะคริว ถ้าพบว่ามีอาการน่าสงสัย เช่น ตัวร้อนต่อเนื่องไข้ไม่ลด ท้องเสียต่อเนื่อง หรือผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน อาจจะดูจิตกจริตไปหน่อยแต่กันไว้ดีกว่าแก้เพราะโรคภัยสมัยนี้รุนแรงขึ้นทุกวันนะคะ

           5. อย่าใช้ยามั่ว ๆ ถ้าเกิดป่วยแบบไม่ทันตั้งตัว ไหนจะแพ้อากาศจามไม่หยุด น้ำมูกไหล เป็นหวัดตัวร้อน ผื่นคัน หรือผิวแห้งแตกรุนแรงจนมีอาการเจ็บหรือมีเลือดซึม อย่าหายามาใช้เองเชียวนะคะ ควรพบแพทย์เพื่อดูอาการ และรับยา เพราะยาตัวเดียวกันไม่ได้ใช้ได้กับทุกคนที่แม้จะเหมือนอาการเหมือนกัน

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

อัตราส่วนผสมของเรซินเคลือบรูป เบอร์ 288w ส่วนผสมตัวทำแข็ง (ฮาร์ดเดนเนอร์) ใช้สูตร 100:1 ของน้ำหนักเรซิน โดยประมาณ หรือเท่ากับ 1%
รูป
3 x 5"
ใช้เรซิน
25
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
5 - 7
หยด
รูป
5 x 7"
ใช้เรซิ่น
40
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
9 - 10
หยด
รูป
8 x 10"
ใช้เรซิ่น
70
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
12 - 14
หยด
รูป
10 x 12"
ใช้เรซิ่น
100
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
18 - 20
หยด
รูป
11 x 14"
ใช้เรซิ่น
130
ซีซี
ผสมตัวทำแข็ง
22 - 25
หยด
 

กรอบรูป

.

 

การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
วัสดุ
1. เรซิ่นเกรดเคลือบ 2. ฮาร์ดเดนเนอร์ 3. กาวลาเท็กซ์
4. ฟิล์มไมร่าาแบบเงา 5. อาซีโทน 6. น้ำยากันซึม
อุปกรณ์
 1. ลูกกลิ้งยาง 2. ถ้วยตวงและไม้กวนเรซิ่น 3. กระดาษทรายเบอร์150
 4. กระดาษกาวย่น
             

การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

                                                       กรอบรูปวิทยาศาสตร์ เป็นการใช้ประโยชน์จาก เรซิ่น ในการเคลือบรูปลงบนไม้ พร้อมตกแต่งให้เกิดความสวยงาม เป็นงานที่สามารถทำเป็นอาชีพได้ไม่ยากและน่าสนใจ เนื่องจากลงทุนค่อนข้างน้อย เรียนรู้วิธีการทำง่ายตลาดกว้าง สามารถทำได้ทั้งแบบเต็มตัวเป็นอาชีพหลักหรือครั้งคราว และกำไรต่อหน่วยค่อนข้างสูง





วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โรคไข้ฉี่หนู

 ภัยที่มากับน้ำท่วม โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู Leptospirosis

โรคฉี่หนูเป็นที่มักจะระบาดหน้าฝน โดยจะพบเชื้อโรคในปัสสาวะของหนู สุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
ลักษณะของตัวเชื้อ
เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว spirochete เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แมาน้ำลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง
เกิดจากเชื้อ Leptospira interogans เป็นเชื้อแบคทีเรียมี 16 serogroup เชื้อที่เป็นสาเหตุในกรุงเทพ คือ bataviae และ javanica ส่วนในภูมิภาคเป็น akiyami,icterohemorrhagia มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง
การเกิดโรค
พบได้ทั่วโลกยกเว้นเขตขั้วโลกเนื่องจากมีสัตว์ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าปล่อยเชื้อนี้กับปัสสาวะ คนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสปัสสาวะหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อนี้
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
  • คนงานฟาณืมเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
  • กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
  • กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา

แหล่งรังโรค
หมายถึงเป็นที่พักของเชื้อ สัตว์ที่เป็นแหล่งพักได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข แรคคูณสัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะตลอดชีวิตสัตว์ ทำให้มีการติดต่อของเชื้อในสัตว์
  • จากการสำรวจหนูใน 27 จังหวัดเมื่อปี 2508 พบว่าทั้งหนูท่อ หนูบ้าน หนูนา เป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญโดยพบเชื้อร้อยละ 10-50 รองลงมาได้แก่สุนัข
  • จากการสำรวจหนูนาพบว่าหนูพุกติดีเชื้อร้อยละ 40
  • จากการสำรวจสัตว์ในกรุงเทพเมื่อปี 2508 พบว่าหนูท่อติดเชื้อ 66% สุนัขติดเชื้อ 8 % แสดงว่าหนูเป็นตัวแพร่เชื้อ
  • การสำรวจเมื่อปี 2540 โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบภูมิคุ้มกันในความ31% โค 28.25% แพะแกะ 27.35% สุกร 2.15%
การติดต่อของโรค
สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข วัว ควาย สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะเชื้อจะอยู่ในน้ำหรือดิน
  • เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา หรือแผล ผิวหนังปกติที่เปียกชื้นเชื้อก็สามารถไชผ่านไปได้เช่นกัน
  • เชื้ออาจจะเข้าร่างกายโดยการดื่มหรือกินอาหารที่มีเชื้อ
ระยะฟักตัวของโรค
  • โดยเฉลี่ยประมาณ 10 วันหรืออยู่ระหว่าง4-19 วัน
ระยะติดต่อ
  • การติดต่อจากคนสู่คนเกิดได้น้อยมาก
การรักษา
ควรให้ยา penicillin, tetracyclin, streptomycin,erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะไดรับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค การได้รับน้ำและเกลือแร่อย่างเพียงพอ